ตัวย่อวันและเดือนภาษาอังกฤษ

เดือนที่

ตัวไทย

ตัวย่อ

Month

ตัวย่อ

1

มกราคม

ม.ค.

January

Jan

2

กุมภาพันธ์

ก.พ.

February

Feb

3

มีนาคม

มี.ค.

March

Mar

4

เมษายน

เม.ย.

April

Apr

5

พฤษภาคม

พ.ค.

May

May

6

มิถุนายน

มิ.ย.

June

Jun

7

กรกฎาคม

ก.ค.

July

Jul

8

สิงหาคม

ส.ค.

August

Aug

9

กันยายน

ก.ย.

September

Sep

10

ตุลาคม

ต.ค.

October

Oct

11

พฤศจิกายน

พ.ย.

November

Nov

12

ธันวาคม

ธ.ค

December

Dec

         

วันที่

วันไทย

Day

คำย่อ

 

1

อาทิตย์

Sunday

Sun

 

2

จันทร์

Monday

Mon

 

3

อังคาร

Tuesday

Tue

 

4

พุธ

Wednesday

Wed

 

5

พฤหัสบดี

Thursday

Thu

 

6

ศุกร์

Friday

Fri

 

7

เสาร์

Saturday

Sat

 

 

งานประกันคุณภาพการศึกษา

http://www.tak.rmutl.ac.th/qa/index.php?option=com_phocadownload&view=section&id=1&Itemid=0

งานประกันคุณภาพการศึกษา

http://www.tak.rmutl.ac.th/qa/index.php?option=com_phocadownload&view=section&id=1&Itemid=0

คู่มือการประเมินคุณภาพ สมศ. รอบ 3 พ.ศ. 2554

http://www.tak.rmutl.ac.th/qa/index.php?option=com_content&view=article&id=23:-3-2554&catid=1:2009-12-02-02-49-06

ดาวน์โหลดหลักสูตรแกนกลางการศึกษา 51 word, pdf

http://www.jearadub.net/wizContent.asp?wizConID=93&txtmMenu_ID=7

http://www.learners.in.th/blogs/posts/423145

http://sites.google.com/site/krudee1/hlaksutr-1/hlaksutr-kaen-klang-kar-suksa-khan-phun-than2551

โครงสร้างหลักสูตร ประถมศึกษา

Download file word : http://goo.gl/gFNTS

สัดส่วนคะแนน ระดับ ประถมศึกษา http://www.anubanmlp.ac.th/index.php/curriculum

โครงสร้างหลักสูตร ประถมศึกษา

Download file word : http://goo.gl/gFNTS

สัดส่วนคะแนน ระดับ ประถมศึกษา http://www.anubanmlp.ac.th/index.php/curriculum

SQL Injection

SQL Injection คือ การที่ในเวปมีการรับข้อมูลจากผู้ใช้ แล้วนำไปใช้ในการสั่งให้ฐานข้อมูลทำงาน แล้ว ผู้ใช้พยายามที่จะหลอกโปรแกรมให้ทำงานนอกเหนือจากที่เราต้องการ หรือ หลอกให้โปรแกรมทำงานโดยผ่านการตรวจสอบเงื่อนไขบางอย่าง Injection Flaws หมายถึง แฮกเกอร์สามารถที่จะแทรก Malicious Code หรือ คำสั่งที่แฮกเกอร์ใช้ในการเจาะระบบส่งผ่าน Web Application ไปยังระบบภายนอกที่เราเชื่อมต่ออยู่ เช่น ระบบฐานข้อมูล SQL โดยวิธี SQL Injection หรือ เรียก External Program ผ่าน shell command ของระบบปฎิบัติการ เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วแฮกเกอร์จะใช้วิธีนี้ในช่วงการทำ Authentication หรือการ Login เข้าระบบผ่านทาง Web Application เช่น Web Site บางแห่งชอบใช้ “/admin” ในการเข้าสู่หน้า Admin ของ ระบบ ซึ่งเป็นช่องโหว่ให้แฮกเกอร์สามารถเดาได้เลยว่า เราใช้ http://www.mycompany.com/admin ในการเข้าไปจัดการบริหาร Web Site ดังนั้นเราจึงควรเปลี่ยนเป็นคำอื่นที่ไม่ใช่ “/admin” ก็จะช่วยได้มาก วิธีการทำ SQL injection ก็คือ แฮกเกอร์จะใส่ชื่อ username อะไรก็ได้แต่ password สำหรับการทำ SQL injection จะใส่เป็น Logic Statement ยกตัวอย่างเช่น ‘ or ‘1’ = ‘1 หรือ ” or “1”= “1 หรือ a’ or 1=1– Query = “SELECT * FROM product WHERE Password=’$input'”; แต่ผู้ใช้ทำการใส่ ข้อมูลเป็น a’ or 1=1– ดังนั้น query ที่ได้จะเป้น Query = “SELECT * FROM product WHERE Password=’a’ or 1=1–‘”; จะเห็นว่าเมื่อนำไช้งานแล้ว จะสามารถเรียกดูข้อมูลได้เสมอ เนื่องจาก 1=1 เป็นจริง สมมุติว่า มีโค้ดต่อไปนี้ใน application และ parameter “userName” ซึ่งประกอบด้วย ชื่อผู้ใช้ ช่องโหว่แบบ SQL Injection เกิดขึ้นในโค้ดนี้: statement := “SELECT * FROM users WHERE name = ‘” + userName + “‘;” ถ้าป้อน “a’; DROP TABLE users; SELECT * FROM data WHERE name LIKE ‘%” เข้าไปในส่วน “userName” จะทำให้เกิด SQL statement ต่อไปนี้ SELECT * FROM users WHERE name = ‘a’; DROP TABLE users; SELECT * FROM data WHERE name LIKE ‘%’; ฐานข้อมูลจะเอ็กซิคิวท์ statement ตามลำดับ คือ select data, drop user table และ select data ทำให้ผู้ใช้เว็ปสามารถดูหรือแก้ไขข้อมูลใด ๆ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ที่ผู้ใช้ที่เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลสามารถอ่าน หรือแก้ไขได้ วิธีการป้องกัน นักพัฒนาระบบ (Web Application Developer) ควรจะระมัดระวัง input string ที่มาจากทางฝั่ง Client (Web Browser) และไม่ควรใช้วิธีติดต่อกับระบบภายนอกโดยไม่จำเป็น ควรมีการ “กรอง” ข้อมูลขาเข้าที่มาจาก Web Browser ผ่านมาทางผู้ใช้ Client อย่างละเอียด และ ทำการ “กรอง” ข้อมูลที่มีลักษณะที่เป็น SQL injection statement ออกไปเสียก่อนที่จะส่งให้กับระบบฐานข้อมูล SQL ต่อไป การใช้ Stored Procedure หรือ Trigger ก็เป็นทางออกหนึ่งในการเขียนโปรแกรมสั่งงานไปยังระบบฐานข้อมูล SQL ซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้ “Dynamic SQL Statement ” กับฐานข้อมูล SQL ตรงๆ ช่องโหว่แบบ SQL Injection สามารถแก้ไขได้ใน programming language ส่วนใหญ่ ในภาษา Java ควรมีการใช้ PreparedStatement class แทนที่จะใช้ Connection con = (acquire Connection) Statement stmt = con.createStatement(); ResultSet rset = stmt.executeQuery(“SELECT * FROM users WHERE name = ‘” + userName + “‘;”); ให้ใช้โค้ดต่อไปนี้แทน Connection con = (acquire Connection) PreparedStatement pstmt = con.prepareStatement(“SELECT * FROM users WHERE name = ?”); pstmt.setString(1, userName); ResultSet rset = stmt.executeQuery();

credit:   community.thaiware.com/index.php/topic/315208-cicooeian-sql-injection-ci-php-an/

ความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking)

ความคิดสร้างสรรค์(Creative thinking)

ความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการคิดของสมองซึ่งมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิม โดยสามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการได้อย่างรอบคอบและมีความถูกต้อง จนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่แปลกใหม่หรือรูปแบบความคิดใหม่ นอกจากลักษณะการคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวนี้แล้ว ยังมีสามารถมองความคิดสร้างสรรค์ในหลาย ซึ่งอาจจะมองในแง่ที่เป็นกระบวนการคิดมากกว่าเนื้อหาการคิด โดยที่สามารถใช้ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในมิติที่กว้างขึ้น เช่นการมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน การเรียน หรือกิจกรรมที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ด้วย อย่างเช่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์  หรือการเล่นกีฬาที่ต้องสร้างสรรค์รูปแบบเกมให้หลากหลายไม่ซ้ำแบบเดิม เพื่อไม่ให้คู่ต่อสู่รู้ทัน เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในเชิงวิชาการ แต่อย่างไรก็ตาม ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ที่กล่าวนั้นต่างก็อยู่บนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ โดยที่บุคคลสามารถเชื่อมโยงนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี
ในการสอนของอาจารย์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์   ควรจัดการเรียนการสอนที่ใช้วิธีการที่เหมาะสม ดังนี้
1.  การสอน (Paradox) หมายถึง การสอนเกี่ยวกับการคิดเห็นในลักษณะความคิดเห็นที่ขัดแย้งในตัวมันเอง ความคิดเห็นซึ่งค้านกับสามัญสำนึก ความจริงที่สามารถเชื่อถือหรืออธิบายได้ ความเห็นหรือความเชื่อที่ฝังใจมานาน ซึ่งการคิดในลักษณะดังกล่าว นอกจากจะเป็นวิธีการฝึกประเมินค่าระหว่างข้อมูลที่แท้จริงแล้ว ยังช่วยให้คิดในสิ่งที่แตกต่างไปจากรูปแบบเดิมที่เคยมี เป็นการฝึกมองในรูปแบบเดิมให้แตกต่างออกไป และเป็นส่งเสริมความคิดเห็นไม่ให้คล้อยตามกัน (Non – Conformity) โดยปราศจากเหตุผล ดังนั้นในการสอนอาจารย์จึงควรกำหนดให้นักศึกษารวบรวมข้อคิดเห็นหรือคำถาม แล้วให้นักศึกษาแสดงทักษะด้วยการอภิปรายโต้วาที หรือแสดงความคิดเห็นในกลุ่มย่อยก็ได้
2.  การพิจารณาลักษณะ (Attribute) หมายถึง การสอนให้นักศึกษา คิดพิจารณาลักษณะต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ ทั้งของมนุษย์ สัตว์ สิ่งของ ในลักษณะที่แปลกแตกต่างไปกว่าที่เคยคิด รวมทั้งในลักษณะที่คาดไม่ถึง
3. การเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย (Analogies) หมายถึง การเปรียบเทียบสิ่งของหรือสถานการณ์การณ์ที่คล้ายคลึงกัน แตกต่างกันหรือตรงกันข้ามกัน อาจเป็นคำเปรียบเทียบ คำพังเพย สุภาษิต
4. การบอกสิ่งที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง (Discrepancies) หมายถึง การแสดงความคิดเห็น บ่งชี้ถึงสิ่งที่คลาดเคลื่อนจากความจริง ผิดปกติไปจากธรรมดาทั่วไป หรือสิ่งที่ยังไม่สมบูรณ์
5. การใช้คำถามยั่วยุและกระตุ้นให้ตอบ (Provocative Question) หมายถึงการตั้งคำถามแบบปลายเปิดและใช้คำถามที่ยั่วยุ เร้าความรู้สึกให้ชวนคิดค้นคว้า เพื่อความหมายที่ลึกซึ้งสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
6.  การเปลี่ยนแปลง (Example of change) หมายถึง การฝึกให้คิดถึงการเปลี่ยนแปลง
ดัดแปลงการปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ที่คงสภาพมาเป็นเวลานานให้เป็นไปในรูปอื่น และเปิดโอกาสให้เปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการต่าง ๆ อย่างอิสระ
7.  การเปลี่ยนแปลงความเชื่อ (Exchange of habit) หมายถึง การฝึกให้นักศึกษาเป็นคนมีความยืดหยุ่น ยอมรับความเปลี่ยนแปลง คลายความยึดมั่นต่าง ๆ เพื่อปรับตนเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ได้ดี
8. การสร้างสิ่งใหม่จากโครงสร้างเดิม (An organized random search) หมายถึง การฝึกให้นักศึกษารู้จักสร้างสิ่งใหม่ กฎเกณฑ์ใหม่ ความคิดใหม่ โดยอาศัยโครงสร้างเดิมหรือกฎเกณฑ์เดิมที่เคยมี แต่พยายามคิดพลิกแพลงให้ต่างไปจากเดิม
9.   ทักษะการค้นคว้าหาข้อมูล (The skill of search) หมายถึง การฝึกเพื่อให้นักศึกษารู้จักหาข้อมูล
10.   การค้นหาคำตอบคำถามที่กำกวมไม่ชัดเจน (Tolerance for ambiguity) เป็นการฝึกให้นักศึกษามีความอดทนและพยายามที่จะค้นคว้าหาคำตอบต่อปัญหาที่ กำกวม สามารถตีความได้เป็นสองนัย ลึกลับ รวมทั้งท้าทายความคิด
11.  การแสดงออกจากการหยั่งรู้ (invite expression) เป็นการฝึกให้รู้จักการแสดงความรู้สึก และความคิด ที่เกิดจากสิ่งที่เร้าอวัยวะรับสัมผัสทั้งห้า
12.  การพัฒนาตน (adjustment for development) หมายถึง การฝึกให้รู้จักพิจารณาศึกษาดูความ ล้มเหลว ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ แล้วหาประโยชน์จากความผิดพลาดนั้นหรือข้อบกพร่องของตนเองและผู้อื่น ทั้งนี้ใช้ความผิดพลาดเป็นบทเรียนนำไปสู่ความ-สำเร็จ
13.  ลักษณะบุคคลและกระบวนการคิดสร้างสรรค์ (creative person and creative) หมายถึง การศึกษาประวัติบุคคลสำคัญทั้งในแง่ลักษณะพฤติกรรมและกระบวนการคิดตลอดจน วิธีการ และประสบการณ์ของบุคคลนั้น
14.  การประเมินสถานการณ์ (a creative reading skill) หมายถึง การฝึกให้หาคำตอบโดยคำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นและความหมายเกี่ยวเนื่องกัน ด้วยการตั้งคำถามว่าถ้าสิ่งเกิดขึ้นแล้วจะเกิดผลอย่างไร
15.  พัฒนาทักษะการอ่านอย่างสร้างสรรค์ (a creative reading skill) หมายถึง การฝึกให้รู้จักคิดแสดงความคิดเห็น ควรส่งเสริมและให้โอกาสเด็กได้แสดงความคิดเห็นและความรู้สึกต่อเรื่องที่ อ่านมากกว่าจะมุ่งทบทวนข้อต่างๆ ที่จำได้หรือเข้าใจ
16. การพัฒนาการฟังอย่างสร้างสรรค์  (a creative listening skill )  หมายถึง  การฝึกให้
เกิด ความรู้สึกนึกคิดในขณะที่ฟัง อาจเป็นการฟังบทความ เรื่องราวหรือดนตรี เพื่อเป็นการศึกษาข้อมูล ความรู้ ซึ่งโยงไปหาสิ่งอื่น ๆ ต่อไป
17.   พัฒนาการเขียนอย่างสร้างสรรค์ ( a creative writing skill ) หมายถึง การฝึกให้
แสดงความคิด ความรู้สึก การจินตนาการผ่านการเขียนบรรยายหรือพรรณนาให้เห็นภาพชัดเจน
18.  ทักษะการมองภาพในมิติต่างๆ (Visualization skill) หมายถึง การฝึกให้แสดงความรู้สึกนึกคิดจากภาพในแง่มุม แปลกใหม่ ไม่ซ้ำเดิม
ครับมาทักทายด้วย

 

รู้จักกับ Blue Screen of Death

รู้จักกับ Blue Screen of Death

"จอฟ้ามรณะ" "มฤตยูจอฟ้า" หรือ "จอฟ้าแห่งความตาย" ไม่ว่าใครจะเรียกอะไรก็แล้วแต่ Blue Screen of Death คือสิ่งที่ผู้ใช้พีซีไม่อยากเจอะเจอมากที่สุด เพราะถ้ามันปรากฏขึ้นเมื่อใด ย่อมหมายถึงได้เวลาที่คุณต้องล้างระบบ ติดตั้งวินโดวส์ใหม่กันแล้ว แต่ในความเป็นจริง จอฟ้ามรณะนี่มันน่ากลัวขนาดนั้นเลยหรือ?
Blue Screen of Death คืออะไร?
เชื่อแน่ๆ ว่าผู้ใช้พีซีไม่ว่าจะมือใหม่หรือมือเก๋า น่าจะเจออาการแบบรูปที่ 1 กันบ้าง ไม่มากก็น้อย

แต่ปฏิกิริยาที่เจออาจจะแตกต่างกัน ถ้าเป็นมือเก๋า ก็แค่ร้อง "ว้าเว้ย!!" แล้วก็หาทางแก้กันไป หน้าจอเดียวกันนี้ ถ้าเป็นมือใหม่หัดใช้คอมพ์ อาจถึงกับลนลานรีบต่อสายตรงที่ช่างซ่อมคอมพ์ทันทีเลยทีเดียว แต่ช้าก่อนครับ!!?? ถ้าคุณได้อ่านบทความเรื่องนี้ อาจช่วยลดอาการลนลานได้บ้าง และถ้าคุณร้าสาเหตุที่มาที่ไปของอาการนี้คุณอาจช่วยเหลือตัวเองได้บ้างโดยไม่ต้องง้อช่างเลย
ทีนี้มาถึงคำตอบของคำถามที่ผมตั้งเป็นหัวข้อไว้ Blue Screen of Death ( ต่อไปขอย่อว่า BOD นะครับ) อธิบายง่ายๆ ก็คือ หน้าจอที่แสดงอาการผิดปกติของวินโดวส์ ซึ่งอาการที่เกิดได้ก็มาจากหลายๆ สาเหตุ ทั้งเกิดจากซอฟต์แวร์ก็ได้ หรือฮาร์ดแวร์ก็ได้ หรือเกิดพร้อมๆ กันเลยก็มี เหตุที่ตั้งชื่อให้มันน่ากลัวขนาดนั้น ก็เพราะถ้าหน้าจอสีฟ้านี้แสดงขึ้นมา มันหมายความว่าอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น ค่อนข้างหนักหนาจนวินโดวส์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ นอกจากรีเซ็ตเครื่องเพียงอย่างเดียว

ในบางกรณี การรีเซ็ตเครื่องหลังจากขึ้นบลูสกรีน ก็สามารถใช้งานเครื่องพีซีต่อได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าปัญหาจะหมดไป วันดีคืนดี หน้าจอมรณะก็อาจจะกลับมาหลอกหลอนได้อีก เพราะสาเหตุของปัญหายังไม่ได้ถูกขจัด ถามว่าทำไมบลูสกรีนอยู่ๆ ก็เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ทั้งๆทีใช้งานมาตั้งนานยังไม่เคยมีปัญหาแบบนี้? คำตอบของปัญหานี้จะไปโทษระบบปฏิบัติการเพียงอย่างเดียวก็คงจะไม่ได้ อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่าการทำงานของเครื่องพีซีต้องประกอบไปด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เป็นหลัก ฮาร์ดแวร์ถ้าไม่ซอฟต์แวร์ควบคุมจัดการก็ไม่ต่างอะไรกับเศษเหล็ก ในทางกลับกันถ้าซอฟต์แวร์ไม่มีอะไรให้จัดการก็ไม่ต่างอะไรจากโค้ดดิ้งไร้สาระหลายหมื่นบรรทัด และในเมื่อทั้งสองอย่างต้องทำงานร่วมกัน ความเข้ากันได้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

มาถึงตรงนี้อาจจะเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมหน้าจอมรณะถึงพบบ่อยได้นักในระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ทุกยุค ทุกสมัย นั่นก็เพราะ วินโดวส์เป็นระบบปฏิบัติการที่จำเป็นต้องออกแบบให้ใช้กับเครื่องพีซีและอุปกรณ์ รอบข้างให้ได้หลากหลายที่สุดเท่าที่จะทำได้ แตกต่างจากระบบยูนิกซ์หรือ แมคโอเอส ที่ออกแบบมาเพื่อเครื่องยูนิกซ์หรือแอปเปิ้ลเพียงอย่างเดียว ลองนึกดูง่ายๆ แค่เมนบอร์ดที่ใช้กับเครื่องพีซีก็มีกี่ยี่ห้อ กี่รุ่น เข้าไปแล้ว ยังไม่นับกราฟิกการ์ด ซาวด์การ์ด โมเด็ม ฯลฯ และอีกสารพัดอุปกรณ์ที่ต้องนำมาเชื่อมต่อ ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ถ้าเกิดปัญหาเรื่องความไม่เข้ากันเมื่อไหร่จอฟ้ามรณะก็บังเกิดขึ้นครับ

ความจริงวินโดวส์เองก็มีข้อบังคับเรื่องของฮาร์ดแวร์คอมแพตทิเบิลอยู่ รายระเอียดของเรื่องนี้อยู่ที่ http://www.microsoft.com/resources/documentation/windows/xp/all/proddocs/en-us/hsc_compat_overview.mspx ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชิ้นถ้าผ่านการรับรองจากไมโครซอฟต์แล้ว จะมีโลโก้แสดงว่าวินโดวส์ คอมแพตทิเบิลอยู่ แต่สมัยนี้อุปกรณ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย บางตัวก็ติดโลโก้วินโดวส์คอมแพตทิเบิลมาด้วย แต่ผู้ใช้ก็ไม่มีทางรู้ว่าจริงหรือไม่ ยังไม่นับซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ร้อยพ่อพันแม่พัฒนากันออกมา ดังนั้นในความเป็นจริง ผู้ใช้จึงไม่สามารถใช้อุปกรณ์ที่เป็นคอมแพตทิเบิลร่วมกันได้ทั้งหมดได้

ที่เล่ามาทั้งหมด ขอออกตัวว่าผมไม่ได้แก้ต่างให้ไมโครซอฟท์แต่อย่างใด แค่อยากจะชี้ให้เห็นถึงสาเหตุของปัญหาบลูสกรีนที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องบอกล่วงหน้า ตราบใดที่เรายังใช้วินโดวส์ที่ยังคงรันอยู่พีซีที่ภายในมีอุปกรณ์ติดตั้งไม่ซ้ำยี่ห้อกันเลยแม้แต่ยี่ห้อเดียว

ในวินโดวส์ NT, 2000 และ XP นั้น BOD ที่เกิดขึ้น มักเกิดมาจากเคอร์แนลหรือไดรเวอร์ ที่เกิดทำงานผิดพลาดโดยที่ไม่สามารถจะคืนสภาพการทำงานให้กลับมาเหมือนเดิมได้ เช่น ไดรเวอร์ส่งค่าบางอย่างที่ไม่ถูกต้องไปยังกระบวนการอื่นๆ ทำให่ตัวระบบปฏิบัติการทำงานผิดพลาด วิธีเดียวที่ผู้ใช้จะแก้ไขได้ คือ รีบูตเครื่องคอมพิวเตอร์
ซึ่งนั่นหมายความว่า ข้อมูลหรืองานที่คุณกำลังทำอยู่มีโอกาสที่จะหายไปด้วยเพราะวินโดวส์ไม่ได้ถูกสั่งปิดแบบปกติ
การพิจารณาแก้ปัญหา BOD ดูได้จากข้อความที่แสดงและเออเรอร์โค้ด บางปัญหาวินโดวส์จะแสดงข้อความที่เป็นสาเหตุอย่างชัดเจน แต่บางปัญหาก็ไม่สามารถอาศัยข้อความที่แสดงเพียงอย่างเดียว ต้องนำเอาเออเรอร์โค้ดมาร่วมพิจารณาด้วย ตำแหน่งของข้อความและเออเรอร์โค้ด

*** ข้อมูล Blue Screen of Death คัมภีร์แก้ปัญหาจอมรณะ ทั้งหมดคัดลอกมาจากหนังสือ PCtoday